พยาบาลผดุงครรภ์
ดูแลสุขภาพของหญิงมีครรภ์และดูแลการคลอดบุตร
ในแต่ละวันทำอะไร?
1. ดูแลสุขภาพของหญิงมีครรภ์และทารกในครรภ์ ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ
2. ช่วยเหลือการทำคลอด เพื่อดูแลแม่และเด็กทารก
3. อธิบายแนวทางการผดุงครรภ์ให้แก่แม่ของทารก สมาชิกในครอบครัว และทีมผู้ดูแล
4. วางแผนการดูแลครรภ์และสุขภาพของแม่ในช่องการตั้งภรรค์
5. วางแผนการดูแลสุขภาพของหญิงมีครรภ์ร่วมกับสูติแพทย์
เรียนต่อ
- คณะพยาบาลศาสตร์
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
รายได้
15,000 - 35,000 บาท/เดือน
ไลฟ์สไตล์การทำงาน
การประสานงานหรือนำผู้อื่น
บ่อยครั้ง
การเจอทีม
ทุกวัน
การพบปะพูดคุยกับผู้รับบริการ
บ่อยครั้ง
การอยู่ห้องแอร์
ทุกวัน
อิสระในการตัดสินใจ
สูงมาก
ความแม่นยำในการทำงาน
สูงมาก
การแข่งขัน
ปานกลาง
ความขัดแย้ง
สูง
ลักษณะเวลาทำงาน
เวลาทำงานยืดหยุ่นได้ (Irregular)
ระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน
มากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
มีความเสี่ยง
ต้องใช้ทักษะและความรู้อะไรบ้าง?
ทักษะ
• การอ่านจับใจความ
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับใจความสำคัญของประโยค และย่อหน้าในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
• การฟังอย่างลึกซึ้ง
การใส่ใจกับสิ่งที่ผู้อื่นกำลังพูดอย่างเต็มที่ จับประเด็นสำคัญ สอบถามในเวลาที่เหมาะสม และไม่ขัดจังหวะในการพูด
• การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การใช้เหตุผลหรือตรรกะในการระบุจุดแข็ง และจุดอ่อนของทางเลือกต่าง ๆ ที่มี เพื่อหาข้อสรุปของแนวคิดในการแก้ไขปัญหา
• การเรียนรู้เชิงประยุกต์
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อมาใช้ในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
• การพูด
การพูดคุยกับผู้อื่น เพื่อสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
• การกำกับดูแลงาน
การกำกับ ติดตามงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานของตัวเอง ผู้อื่น หรือองค์กร เพื่อปรับปรุงแก้ไขได้อย่างถูกต้อง
ความรู้
• การบริการลูกค้า
ความรู้เกี่ยวกับการประเมินปัญหาและความต้องการของลูกค้า การบริการ การประเมินความพึงพอใจ และการปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้า
• การบำบัด และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
ความรู้เกี่ยวกับหลักการในการวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูความบกพร่องของร่างกายและจิตใจ การแนะแนวด้านอาชีพ การให้คำแนะนำต่าง ๆ
• จิตวิทยา
ความรู้เกี่ยวกับการแสดงออกของมนุษย์ และความแตกต่างของบุคคล (เช่น บุคลิกภาพ การเรียนรู้ แรงจูงใจ)
• การศึกษา และการฝึกอบรม
ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบหลักสูตรการอบรม วิธีการสอนแบบรายบุคคลหรือกลุ่ม และการวัดประเมินผลจากการสอน
• สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา
ความรู้เกี่ยวกับการทำความเข้าใจพฤติกรรมกลุ่ม พลวัต (การเปลี่ยนแปลง) แนวโน้มอิทธิพลของสังคม และประวัติความเป็นมา
• ชีววิทยา
ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ (เช่น เนื้อเยื่อ เซลล์) รวมทั้งการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม