กุมารแพทย์
ตรวจวินิจฉัย รักษา และให้คำแนะนำการป้องกันโรคในเด็ก
ในแต่ละวันทำอะไร?
1. ตรวจผู้ป่วย สั่งการ ดำเนินการ และตีความผลทดสอบพัฒนาการเด็ก เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการป่วย และการวินิจฉัยโรค
2. กำหนดวิธีรักษาอาการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บในทารกและเด็ก บำบัดด้วยการใช้ยา การฉีดวัคซีน และการดูแลเฉพาะทางอื่น ๆ
3. ดูแลงานอนามัยโรงเรียน เช่น ตรวจสุขภาพนักเรียน และให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาด้านการเจริญเติบโตและพฤติกรรม
4. ดูแลรักษาเด็กที่ได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
5. บริหารโครงการด้านสุขภาพในโรงพยาบาลธุรกิจหรือชุมชนเพื่อป้องกันหรือรักษาอาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย
เรียนต่อ
- คณะแพทยศาสตร์
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม
รายได้
40,000 - 250,000 บาท/เดือน
ไลฟ์สไตล์การทำงาน
การประสานงานหรือนำผู้อื่น
บ่อยครั้ง
การเจอทีม
บ่อยครั้ง
การพบปะพูดคุยกับผู้รับบริการ
บ่อยครั้ง
การอยู่ห้องแอร์
บ่อยครั้ง
อิสระในการตัดสินใจ
สูงมาก
ความแม่นยำในการทำงาน
สูง
การแข่งขัน
ปานกลาง
ความขัดแย้ง
สูง
ลักษณะเวลาทำงาน
เวลาทำงานเป็นกิจวัตร (Regular)
ระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน
มากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
มีความเสี่ยง
ต้องใช้ทักษะและความรู้อะไรบ้าง?
ทักษะ
• การใช้วิทยาศาสตร์
การใช้หลักการ และขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการแก้ไขปัญหา
• การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การใช้เหตุผลหรือตรรกะในการระบุจุดแข็ง และจุดอ่อนของทางเลือกต่าง ๆ ที่มี เพื่อหาข้อสรุปของแนวคิดในการแก้ไขปัญหา
• การตัดสินใจ
การพิจารณาข้อดีและข้อเสีย เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการทำงาน
• การฟังอย่างลึกซึ้ง
การใส่ใจกับสิ่งที่ผู้อื่นกำลังพูดอย่างเต็มที่ จับประเด็นสำคัญ สอบถามในเวลาที่เหมาะสม และไม่ขัดจังหวะในการพูด
• การเรียนรู้เชิงประยุกต์
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อมาใช้ในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
• การพูด
การพูดคุยกับผู้อื่น เพื่อสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
ความรู้
• การบำบัด และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
ความรู้เกี่ยวกับหลักการในการวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูความบกพร่องของร่างกายและจิตใจ การแนะแนวด้านอาชีพ การให้คำแนะนำต่าง ๆ
• การบริการลูกค้า
ความรู้เกี่ยวกับการประเมินปัญหาและความต้องการของลูกค้า การบริการ การประเมินความพึงพอใจ และการปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้า
• จิตวิทยา
ความรู้เกี่ยวกับการแสดงออกของมนุษย์ และความแตกต่างของบุคคล (เช่น บุคลิกภาพ การเรียนรู้ แรงจูงใจ)
• ชีววิทยา
ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ (เช่น เนื้อเยื่อ เซลล์) รวมทั้งการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
• ภาษาไทย
ความรู้เกี่ยวกับหลักภาษาไทย รวมถึงความหมาย การสะกดคำ หลักเกณฑ์การเขียน และไวยากรณ์ของภาษา
• การศึกษา และการฝึกอบรม
ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบหลักสูตรการอบรม วิธีการสอนแบบรายบุคคลหรือกลุ่ม และการวัดประเมินผลจากการสอน