จิตแพทย์
วินิจฉัย รักษา ป้องกันโรคและอาการทางจิตเวชต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติทางอารมณ์
ในแต่ละวันทำอะไร?
1. รวบรวม รักษาข้อมูล และประวัติผู้ป่วยที่ได้รับจากผู้ป่วย ญาติหรือผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ
2. ให้การรักษาอาการทางจิตโดยวิธีต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของสภาพบุคคล เช่่น การให้ยา ฉีดยาเพื่อระงับ การใช้ไฟฟ้ากระตุ้น
3. ให้คำปรึกษา แนะนำกับผู้ที่มีความกังวลใจในชีวิตประจำวัน เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการปรับตัวร่วมกับผู้อื่น
4. ร่วมมือกับนักจิตวิทยา พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อร่วมวางแผนพัฒนาการรักษา
5. รักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทที่ส่งผลกระทบถึงพฤติกรรม เช่น โรคอัลไซเมอร์
เรียนต่อ
- คณะแพทยศาสตร์
- ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจิตเวชศาสตร์
รายได้
40,000 - 300,000 บาท/เดือน
ไลฟ์สไตล์การทำงาน
การประสานงานหรือนำผู้อื่น
บ่อยครั้ง
การเจอทีม
ทุกวัน
การพบปะพูดคุยกับผู้รับบริการ
บ่อยครั้ง
การอยู่ห้องแอร์
ทุกวัน
อิสระในการตัดสินใจ
สูงมาก
ความแม่นยำในการทำงาน
สูง
การแข่งขัน
ปานกลาง
ความขัดแย้ง
สูง
ลักษณะเวลาทำงาน
เวลาทำงานเป็นกิจวัตร (Regular)
ระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน
มากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
มีความเสี่ยง
เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมี
มีความเสี่ยง
ต้องใช้ทักษะและความรู้อะไรบ้าง?
ทักษะ
• การอ่านจับใจความ
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับใจความสำคัญของประโยค และย่อหน้าในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
• การฟังอย่างลึกซึ้ง
การใส่ใจกับสิ่งที่ผู้อื่นกำลังพูดอย่างเต็มที่ จับประเด็นสำคัญ สอบถามในเวลาที่เหมาะสม และไม่ขัดจังหวะในการพูด
• การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การใช้เหตุผลหรือตรรกะในการระบุจุดแข็ง และจุดอ่อนของทางเลือกต่าง ๆ ที่มี เพื่อหาข้อสรุปของแนวคิดในการแก้ไขปัญหา
• การพูด
การพูดคุยกับผู้อื่น เพื่อสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
• การเรียนรู้เชิงประยุกต์
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อมาใช้ในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
• การเขียน
การเขียนประเด็นสำคัญผ่านการเลือกใช้คำ ระดับภาษา และวิธีการเล่าเรื่องให้เข้ากับผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความรู้
• จิตวิทยา
ความรู้เกี่ยวกับการแสดงออกของมนุษย์ และความแตกต่างของบุคคล (เช่น บุคลิกภาพ การเรียนรู้ แรงจูงใจ)
• การแพทย์ และทันตแพทยศาสตร์
ความรู้เกี่ยวกับการประเมินอาการ วินิจฉัยโรค ให้ทางเลือกในการรักษาผู้ป่วย และแนะนำปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ
• ภาษาไทย
ความรู้เกี่ยวกับหลักภาษาไทย รวมถึงความหมาย การสะกดคำ หลักเกณฑ์การเขียน และไวยากรณ์ของภาษา
• การศึกษา และการฝึกอบรม
ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบหลักสูตรการอบรม วิธีการสอนแบบรายบุคคลหรือกลุ่ม และการวัดประเมินผลจากการสอน
• การบริการลูกค้า
ความรู้เกี่ยวกับการประเมินปัญหาและความต้องการของลูกค้า การบริการ การประเมินความพึงพอใจ และการปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้า
• ชีววิทยา
ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ (เช่น เนื้อเยื่อ เซลล์) รวมทั้งการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม